จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว
เรามักจะเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” นั่นก็คือ จิตใจของเรานั้น สามารถสั่งให้กายของเราทำในสิ่งที่ต้องการได้ เช่น คนที่มีจิตใจดี มักจะแสดงท่าทางออกมาในด้านดี หรือ คนที่มีจิตใจที่เข้มแข้งก็จะสามารถต้านทานต่ออุปสรรคหรือสิ่งต่างๆได้เป็นอย่างดี หรือ คนที่ป่วยทางร่างกาย แต่จิตใจเข้มแข็ง ก็จะต่อสู้ยืนหยัดต่อโรคร้ายที่รุมเร้าได้นั่นเอง
ซึ่งการกระทำใดๆของร่างกายเรานั้น มักจะมีจิตมาบงการอยู่เสมอ ยกเว้นการเต้นของหัวใจ การกระพริบตา หรือการตอบสนองตามสัญชาติญาณของคนเรา ซึ่งเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องมีจิตมาบงการให้ร่างกายทำ
แล้วการที่เราจะทำให้สุขภาพจิตเราดีนั้น ควรทำอย่างไร? วันนี้เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิตให้ดี ซึ่งจะมีหลักปฏิบัติดังต่อไปนี้
- ฝึกฝนจิตใจ คือ การหมั่นฝึกฝนควบคุมอารมณ์และจิตใจของตนเอง ให้มีความมั่นคง สุขุมและเยือกเย็น และมีความรอบคอบให้มาก
- ฝึกฝนการปรับตน คือ การรู้จักปรับความคิดของตนเองให้เป็นคนมีเหตุและผล รับฟังความคิดของผู้อื่น ไม่ถือว่าตนเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
- ฝึกฝนการพิจารณาตนเอง คือ การสำรวจตนเองอยู่เสมอว่าตนเองนั้นมีข้อดีหรือข้อเสียตรงไหน แล้วนำไปพัฒนาและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
- ฝึกฝนตัวเองให้ทำตัวให้เป็นประโยชน์ คือ การช่วยเหลือสังคมหรือการช่วยเหลือผู้อื่น คนที่มีจิตใจอันดี มักจะต้องการช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ และนำพาผู้อื่นไปในทางที่ดี
- ฝึกฝนให้ตัวเองนั้นยอมรับธรรมชาติของชีวิต คือ ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้ ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ไม่มีสิ่งไหนที่จีรังยั่งยืน เพราะฉะนั้นจงใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่างมีสติ และเตรียมพร้อมอยู่เสมอ
และนี่ก็คือหลักปฏิบัติ 5 ข้อที่จะทำให้สุขภาพจิตของเราดี เมื่อสุขภาพจิตของเราดีแล้วนั้น สุขภาพกายของเราก็จะดีตามเช่นกัน