นิทานพื้นบ้านภาคเหนือ เรื่องลิลิตรพระลอ
ลิลิตพระลอเป็นนิยายท้องถิ่นของไทยภาคเหนือ เข้าใจกันว่าเป็นเรื่องจริง ในหลักฐานพงศาวดารกล่าวว่า พระลอเป็นคนสมัยเดียวกับท้าวฮุ่ง จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ.๑๖๑๖-๑๖๙๓ และยังสันนิษฐานกันว่า เมืองสรองคงจะเป็นตอนเหนือของอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ส่วนเมืองสรวงคงจะเป็นเขตอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง
ลิลิตพระลอเป็นวรรณคดีสำคัญอีกเรื่องหนึ่งของไทย วรรณคดีสโมสรยกย่องให้เป็นยอดวรรณคดีประเภทลิลิต ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้แต่งและแต่งเมื่อใด มีผู้สนใจศึกษาค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับผู้แต่งและระยะเวลาในการแต่ง แต่ยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าแต่งในสมัยใด ระหว่างสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ หรือสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีเนื้อหาดังนี้…
ท้าวแมนสรวงเป็นกษัตริย์ของเมืองแมนสรวง พระองค์มีพระมเหสีทรง พระนามว่า“นาฏบุญเหลือ”ทั้งสองพระองค์มีพระโอรสมีพระนามว่า“พระลอดิลกราช”หรือเรียกกันสั้นๆว่า“พระลอ”มีกิตติศัพท์เป็นที่ร่ำลือกันว่าพระองค์นั้นทรงเป็นชายหนุ่มรูปงามไปทั่วสารทิศจนไปถึงเมืองสรอง ( อ่านว่า เมืองสอง ) ซึ่งเป็นเมืองที่ถูกปกครองโดยท้าวพิชัยวิษณุกร พระองค์มีพระนามว่า“พรดาราวดี”และพระองค์ทรงมีพระธิดาผู้เลอโฉมถึงสองพระองค์พระนามว่า“พระเพื่อน”และ“พระแพง”พระเพื่อนและพระแพงได้ยินมาว่าพระลอเป็นชายหนุ่มรูปงาม ก็ให้ความสนใจยากจะได้ยล
พี่เลี้ยงของพระเพื่อนและพระแพงคือนางรื่น และนางโรยสังเกตเห็นความปราถนาของนายหญิงของตนก็เข้าใจในพระประสงค์ สองพี่เลี้ยงจึงอาสาจะจัดการให้นายของตนนั้นได้พบกับพระลอ โดยการส่งคนไปขับซอในนครแมนสรวง และในขณะที่ขับซอนั้นจะไห้นักดนตรีพร่ำพรรณนาถึงความงามของเจ้าหญิงทั้งสอง ในขณะเดียวกันนั้นพี่เลี้ยงทั้งสองก็ได้ไปหาปู่เจ้าสมิงพราย เพื่อที่จะให้ช่วยทำเสน่ห์ให้พระลอหลงใหลในเจ้าหญิงทั้งสอง
เมื่อพระลอต้องมนต์ก็ทำใคร่อยากที่จะได้ยลพระเพื่อนและพระแพงเป็นยิ่งนัก พระองค์เกิดความคลั่งไคล้ไหลหลงจนไม่เป็นอันทำอะไรแม้แต่กระทั่งเสวยพระกระยาหาร พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของพระองค์ ได้ทำให้พระราชชนนีสงสัยว่าจะมีผีมาเข้ามาสิงสู่อยู่ แต่ถึงแม้ว่าจะหาหมอผีคนไหนมาทำพิธีขับไล่ก็ไม่มีผลอันใด พระลอก็ยังคงมีพฤติการณ์อย่างเดิมอยู่ เพื่อที่จะได้ยลเจ้าหญิงทั้งสอง พระลอจึงทูลลาพระราชชนนีออกประพาสป่า แต่จุดประสงค์ที่แท้จริงก็คือเพื่อที่จะได้ไปยลเจ้าหญิงแห่งเมืองสรองนั่นเอง จากนั้นพระลอก็ออกเดินทางมุ่งหน้าสู่เมืองสรองพร้อมคนสนิทอีก 2 คน คือ นายแก้วกับนายขวัญ พร้อมกับไพร่พลอีกจำนวนหนึ่ง ทั้งหมดต้องเดินผ่านป่าผ่าดงจนกระทั่งมาพบแม่น้ำสายหนึ่งมีชื่อว่า “แม่น้ำกาหลง”
และที่แม่น้ำกาหลงนี้เอง ที่พระลอได้ตั้งอธิฐานเสี่ยงน้ำเพื่อตรวจดูดวงชะตาของพระองค์เอง ทันทีที่ได้สิ้นคำอธิษฐานนั้น แม่น้ำก็เปลี่ยนเป็นสีแดงเลือดในทันทีและไหลเวียนวนผิดปกติ เมื่อพระลอเห็นดังนั้นก็รู้ได้ว่าจะมีเรื่องร้ายรออยู่เบื้องหน้าของพระองค์ แต่ก็ไม่ได้ทำให้พระองค์เกิดความย่อท้อที่จะได้พบกับเจ้าหญิงที่พระทัยของพระองค์เรียกร้องแต่อย่างใด ถึงแม้ว่าพระองค์นั้นจะไม่เคยพบนางเลย แต่พระองค์คลั่งไคล้ไหลหลงในตัวนางทั้งสองเป็นยิ่งนัก…ส่วนเจ้าหญิงทั้งสองรอการเดินทางมาของเจ้าชายรูปงามไม่ได้ และเกรงว่ามนต์เสน่ห์ของปู่เจ้าสมิงพรายจะไม่เห็นผล จึงได้ขอร้องให้ปู่เจ้าสมิงพรายช่วยเหลืออีกครั้ง โดยให้ช่วยเนรมิตไก่งามขึ้นตัวหนึ่งให้มีเสียงขันที่ไพเราะ ทั้งสองพระองค์คิดว่าไก่ตัวนั้นจะต้องทำให้พระลอสนพระทัยและติดตามาจนถึงเมืองสรองอย่างแน่นอน
และแล้วเหตุการณ์ก็เป็นไปตามที่เจ้าหญิงสองคาดไว้ พระลอได้ตามไก่เนรมิตไปจนถึงพระราชอุทยาน และได้พบกับเจ้าหญิงทั้งสองซึ่งกำลังทรงสำราญอยู่ ในทันทีที่ทั้งสามได้พบกันก็เกิดความรักใคร่กันในบัดดล และก็เป็นเวลาเดียวกับที่นายแก้วกับนายขวัญ ได้ตกหลุมรักของนางรื่นและนางโรยผู้ซึ่งเปิดหัวใจต้อนรับชายหนุ่มทั้งสองโดยไม่รีรอเช่นกัน ปรากฏว่าพระลอและบ่าวคนสนิทของพระองค์ลักลอบเข้าไปอยู่ในพระตำหนักชั้นใน ซึ่งเป็นที่ประทับของเจ้าหญิงทั้งสอง…อย่างไรก็ตาม ความลับนี้ได้ถูกเปิดเผยเข้าจนได้ …เมื่อข่าวได้ไปถึงพระกรรณของพระราชาจึงได้เสด็จมาไต่สวนในทันที และเมื่อพระลอกราบทูลให้ทรงทราบเรื่อง พระองค์ก็ทรงกริ้วเป็นยิ่งนัก แต่ก็ทรงเข้าพระทัยในความรักของคนทั้งสาม และทรงพระเมตตารับสั่งจะจัดการอภิเษกพระลอกับพระเพื่อนและพระแพงให้ทันที
แต่พระเจ้าย่าของพระเพื่อนพระแพงนั้นยังทรงพยาบาทพระลอ อ้างรับสั่งท้าวพระพิชัยวิษณุกรตรัสสั่งว่าให้นำทหารไปรุมจับพระลอ พระเพื่อนพระแพงและพี่เลี้ยงอาไว้ …ในขณะที่พระลอกับไพร่พลได้ต่อสู้เอาชีวิตรอด พระเจ้าย่าก็สั่งให้ทหารระดมยิงธนูเข้าใส่ ลูกธนูที่พุ่งเข้าหาพระลอและไพร่พลประดุจดังห่าฝนก็ไม่ปานจึงทำให้ไม่อาจจะต้านทานไว้ได้อีกต่อไป และเพื่อที่ปกป้องชีวิตของชายคนรัก พระเพื่อนกับพระแพงจึงเข้าขวางโดยใช้ตัวเองเป็นโล่กำบังให้พระลอ สุดท้ายพระลอพระเพื่อน พระแพง และพี่เลี้ยงทั้งสี่ช่วยกันต่อสู้จนสิ้นชีวิตทั้งหมด …ทันใดนั้นทั้งสองเมืองก็ต้องตกอยู่ในความวิปโยคต่อการจากไปของทั้งสามพระองค์ผู้บูชาในความรัก
ท้าวพิชัยพิษณุกรพิโรธพระเจ้าย่าและทหาร รับสั่งให้ประหารชีวิตทุกคน พระนางบุญเหลือทรงส่งทูตมาร่วมงานพระศพกษัตริย์ทั้งสาม ในที่สุดเมืองสรวงและเมืองสรองก็กลับมาเป็นไมตรีต่อกัน
ข้อคิดสอนใจที่ได้จากเรื่อง ลิลิตรพระลอ:• เพื่อให้ตระหนักเห็นโทษภัยของกิเลสต่างๆ ทั้งรัก โลภ โกรธ หลง ชี้ให้เห็นอารมณ์และกิเลสของมนุษย์นั้นมีอำนาจใหญ่หลวงนัก สามารถลิขิตชีวิตของตนเองได้…ถ้าหากเราไม่รู้เท่าทันอารมณ์…ย่อมหลงไปตามอำนาจกิเลสต่างๆ …แล้วนำไปสู่การทำสิ่งไม่ดี ทางเสื่อม และภัยอันตรายต่างๆมาสู่ตนเองได้
• ลิลิตพระลอถ่ายทอดมาจากชีวิตจริงอย่างเห็นได้ชัดเจน วรรณคดีเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรัก มีความรักหลายประเภท ที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน
• ผู้แต่งถือหลักว่ามนุษย์มีทั้งรัก โลภ โกรธ หลง อยู่เป็นประจำตามวิสัยของมนุษย์ปุถุชนทั่วไป ตัวละครจึงมีชีวิตเลือดเนื้อเจือด้วยความรัก ความโลภ ความโกรธ และความหลง ดังเช่น พระนางบุญเหลือมีความรักลูก ท้าวพิชัยพิษณุกรมีใจนักเลงไม่อาฆาตพยาบาท พระเจ้าย่ามีความเคียดแค้น ความรักระหว่างเจ้ากับข้าถึงกับยอมสละชีวิตพลีชีพด้วยความเต็มใจ เป็นต้น
• หนังสือลิลิตพระลอเป็นหนังสือที่มีคุณค่า ใช้ถ้อยคำไพเราะกินใจดี มีความเปรียบเทียบที่คมคาย จับใจผู้อ่าน สมดังที่กล่าวไว้ในตอนต้นเรื่องว่า “ใครฟังย่อมใหลหลง ฤาอิ่ม ฟังนา” โคลงบางบทได้รับการยกย่องว่าเป็นโคลงครูมาแต่โบราณ ได้แก่โคลง “เสียงฤาเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย” การใช้ภาษามีถ้อยคำรุ่นเก่าปะปนอยู่มากเช่นเดียวกับมหาชาติคำหลวงและลิลิตยวนพ่าย ทำให้สามารถใช้ศึกษาการใช้คำในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นได้
credit:
http://pspreaw.wixsite.com/thailandliterature/untitled-cqs0
Photo credit:
kroobannok.com/article-23768-นิทานพื้นบ้าน….พระลอ.html
oknation.net/blog/vana/2008/07/08/entry-1